
วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554
ปีแห่งความปลอดภัยสวมหมวกนิรภัย100%

วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554
การแปลงวัตถุเป็นตัวอักษร
1. สร้างวัตถุขึ้นมาตามชอบใจ

2. ที่เฟรมที่ 30 สร้าง keyframe โดยการคลิกขวา เลือก insert keyflame

3. ลากวัตถุไปตำแหน่งใหม่แล้วลบออก แล้วพิมพ์ตัวอักษรตามต้องการ



5. ที่เฟรมแรก เลือก วัตถุ ดูที่ Properties เลือก Tween เป็น Shape



6. ทดสอบ โดยกด Ctrl+Enter
วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554
รายชื่อบล๊อก ม.4/2
http://com544221.blogspot.com/ วารี บัวบุศย์
http://com544222.blogspot.com/ อนุสรา สีกวนชา
http://com544223.blogspot.com/ จินตนา รัตนกุล
http://com544225.blogspot.com/ ธัญญรักษ์ ชนิดชน
http://com544226.blogspot.com/ ธิดารัตน์ เพชรตะกั่ว
http://com544227.blogspot.com/ น้ำฝน กลางเหลือง
http://com544228.blogspot.com/ สุกัญญา กุลไพศาล
http://com544230.blogspot.com/ จรัชญา สกุลพรรณ
http://com544234.blogspot.com/ ชนิตา ธรรมพิชิตศึก
วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554
รายชื่อบล๊อก ม.4/1
วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554
สร้างนาฬิกาDigital ด้วย Flash


2. ใช้เครื่องมือ text tool สร้าง textbox ขึ้นมาเลือกเป็น Dynamic Text ตั้งชื่อว่า clock_txt ดังรูป



4. สร้าง layer ใหม่ขึ้นมา ตั้งชื่อว่า action

5. คลิกที่เฟรมแรก กด F9 หรือคลิกขวาแล้วเลือก action

6. ใส่ action script ลงไปดังนี้
time=new Date(); // time object
var seconds = time.getSeconds()
var minutes = time.getMinutes()
var hours = time.getHours()
if (hours<12) {
ampm = "AM";
}
else{
ampm = "PM";
}
while(hours >12){
hours = hours - 12;
}
if(hours<10)
{
hours = "0" + hours;
}
if(minutes<10)
{
minutes = "0" + minutes;
}
if(seconds<10)
{
seconds = "0" + seconds;
}
clock_txt.text = hours + ":" + minutes + ":" + seconds +" "+ ampm;
7. เพิ่มเฟรมขึ้นมาอีกหนึ่งเฟรม ดังรูป

9. ใส่ action script ลงไปในเฟรมที่สอง ดังนี้
gotoAndPlay(1);
10. กด ctrl+enter เพื่อดูผลลัพธ์
วันเสาร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2554
การแสดงวันที่ด้วย Flash
2. ใช้เครื่องมือ Text Tool สร้าง Text box ลงใน Stage

3. คลิกที่ text box แล้วเลือกเป็น dynamic text ใน properties โดยใส่คำว่า fulldate ลงไปในช่อง Var ดังรูป
4. สร้าง layer ขึ้นมาใหม่อีกหนึ่งเลเยอร์
5. คลิกที่เฟรมแรกของ layer ที่สร้างขึ้นมาใหม่ แล้วกด F9 หรือคลิกขวาแล้วเลือก Actions

6. ใส่ action script ลงไปดังนี้
months = new Array("January", "Febuary", "March", "April", "May", "June", "July", "August", "September", "October", "November", "December");
timedate = new Date();
this.onEnterFrame = function ()
{
todaydate = timedate.getDate();
month = timedate.getMonth();
monthname = months[month];
year = timedate.getFullYear();
fulldate = " "+todaydate+" "+monthname+" "+year;
};
7. กด ctrl+enter เพื่อทดสอบ
วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
รายชื่อบล๊อก ม.6
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554
ลอยกระทง

วันลอยกระทงของทุกปีจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือถ้าเป็นปฏิทินจันทรคติล้านนาจะตรงกับเดือนยี่ และหากเป็นปฏิทินสุริยคติจะราวเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเดือน 12 นี้เป็นช่วงต้นฤดูหนาว อากาศจึงเย็นสบาย และอยู่ในช่วงฤดูน้ำหลาก มีน้ำขึ้นเต็มฝั่ง ทำให้เห็นสายน้ำอย่างชัดเจน อีกทั้งวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันที่พระจันทร์เต็มดวง ทำให้สามารถเห็นแม่น้ำที่มีแสงจันทร์ส่องกระทบลงมา เป็นภาพที่ดูงดงามเหมาะแก่การชมเป็นอย่างยิ่ง
ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า"พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน ความเป็นมา
ในสมัยก่อนนั้นพิธีลอยกระทงจะเป็นการลอยโคม โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้ทรงสันนิษฐานว่า พิธีลอยกระทงเป็นพิธีของพราหมณ์ จัดขึ้นเพื่อบูชาเทพเจ้า 3 องค์ คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ต่อมาได้นำพระพุทธศาสนาเข้าไปเกี่ยวข้อง จึงให้มีการชักโคม เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ และลอยโคมเพื่อบูชารอยพระบาทของพระพุทธเจ้า
ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศที่ว่า "ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกสรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้เป็นลวดลาย..." เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมหานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประเพณีลอยกระทงสืบต่อกันเรื่อยมา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น สมัยรัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 3 พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดจนขุนนางนิยมประดิษฐ์กระทงใหญ่เพื่อประกวดประชันกัน ซึ่งต้องใช้แรงคนและเงินจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ทรงเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง จึงโปรดให้ยกเลิกการประดิษฐ์กระทงใหญ่แข่งขัน และโปรดให้พระบรมวงศานุวงศ์ทำเรือลอยประทีปถวายองค์ละลำแทนกระทงใหญ่ และเรียกชื่อว่า "เรือลอยประทีป" ต่อมาในรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง ปัจจุบันการลอยพระประทีปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงกระทำเป็นการส่วนพระองค์ตามพระราชอัธยาศัย
เหตุผลและความเชื่อของการลอยกระทง
สาเหตุที่มีประเพณีลอยกระทงขึ้นนั้น เกิดจากความเชื่อหลาย ๆ ประการของแต่ละท้องที่ ได้แก่ 1.เพื่อแสดงความสำนึกถึงบุญคุณของแม่น้ำที่ให้เราได้อาศัยน้ำกิน น้ำใช้ ตลอดจนเป็นการขอขมาต่อพระแม่คงคา ที่ได้ทิ้งสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ลงไปในน้ำ อันเป็นสาเหตุให้แหล่งน้ำไม่สะอาด
2.เพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทนัมมหานที เมื่อคราวที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ และได้ทรงประทับรอยพระบาทไว้บนหาดทรายแม่น้ำนัมมหานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่าแม่น้ำเนรพุทท 3.เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เพราะการลอยกระทงเปรียบเหมือนการลอยความทุกข์ ความโศกเศร้า โรคภัยไข้เจ็บ และสิ่งไม่ดีต่าง ๆ ให้ลอยตามแม่น้ำไปกับกระทง คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์ 4.เพื่อเป็นการบูชาพระอุปคุต ที่ชาวไทยภาคเหนือให้ความเคารพ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล โดยมีตำนานเล่าว่าพระอุปคุตเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้ 5.เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมของไทยไว้มิให้สูญหายไปตามกาลเวลา และยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้เกิดขึ้นทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ 6.เพื่อความบันเทิงเริงใจ เนื่องจากการลอยกระทงเป็นการนัดพบปะสังสรรค์กันในหมู่ผู้ไปร่วมงาน 7.เพื่อส่งเสริมงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ เพราะเมื่อมีเทศกาลลอยกระทง มักจะมีการประกวดกระทงแข่งกัน ทำให้ผู้เข้าร่วมได้เกิดความคิดแปลกใหม่ และยังรักษาภูมิปัญหาพื้นบ้านไว้อีกด้วย
กิจกรรมในวันลอยกระทง
ในปัจจุบันมีการจัดงานลอยกระทงทุก ๆ จังหวัด ซึ่งจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไปในแต่ละสถานที่ แต่กิจกรรมที่มีเหมือน ๆ กันก็คือ การประดิษฐ์กระทง โดยนำวัสดุต่าง ๆ ทั้งหยวกกล้วย ใบตอง หรือจะเป็นกาบพลับพลึง เปลือกมะพร้าว ฯลฯ มาประดับตกแต่งด้วยดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องสักการบูชา ให้เป็นกระทงที่สวยงาม ภายหลังมีการใช้วัสดุโฟมที่สามารถประดิษฐ์กระทงได้ง่าย แต่จะทำให้เกิดขยะที่ย่อยสลายยากขึ้น จึงมีการรณรงค์ให้เลิกใช้กระทงโฟมเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ก่อนจะมีการดัดแปลงวัสดุทำกระทงให้หลากหลายขึ้น เช่น กระทงขนมปัง กระทงกระดาษ กระทงพลาสติกชนิดพิเศษ เพื่อให้ย่อยสลายง่ายและไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม
เมื่อไปถึงสถานที่ลอยกระทง ก่อนทำการลอยก็จะอธิษฐานในสิ่งที่ปรารถนาขอให้ประสบความสำเร็จ หรือเสี่ยงทายในสิ่งต่าง ๆ จากนั้นจึงปล่อยกระทงให้ลอยไปตามสายน้ำ และในกระทงมักนิยมใส่เงินลงไปด้วย เพราะเชื่อกันว่าเป็นการบูชาพระแม่คงคา
นอกจากการลอยกระทงแล้ว มักมีกิจกรรมประกวดนางนพมาศอันเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของประเพณีลอยกระทง และตามสถานที่จัดงานจะมีการประกวดกระทง ขบวนแห่ มหรสพสมโภชต่าง ๆ บางแห่งอาจมีการจุดพลุ ดอกไม้ไฟเฉลิมฉลองด้วย
เพลงประจำเทศกาลลอยกระทง
เมื่อเราได้ยินเพลง "รำวงลอยกระทง" ที่ขึ้นต้นว่า "วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง..." นั่นเป็นสัญญาณว่าใกล้จะถึงวันลอยกระทงแล้ว ซึ่งเพลงนี้เป็นที่คุ้นหูของทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ เพราะในต่างประเทศมักเปิดเพลงนี้ต้อนรับนักท่องเที่ยว เพื่อแสดงถึงความเป็นประเทศไทย
เพลงรำวงวันลอยกระทงแต่งโดยครูแก้ว อัจฉริยกุล ผู้ให้ทำนองคือ ครูเอื้อ สุนทรสนาน แห่งสุนทราภรณ์ ซึ่งครูเอื้อได้แต่งเพลงนี้ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2498 ขณะที่ได้ไปบรรเลงเพลงที่บริเวณคณะบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมีผู้ขอเพลงจากครูเอื้อ ครูเอื้อจึงนั่งแต่งเพลงนี้ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในระยะเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงจึงเกิดเป็นเพลง "รำวงลอยกระทง" ที่ติดหูกันมาทุกวันนี้ มีเนื้อร้องว่า
วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง
เราทั้งหลายชายหญิง
สนุกกันจริง วันลอยกระทง
ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง
ลอยกระทงกันแล้ว
ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง
รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง
บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ
ข้อมูลจาก
วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2554
อบรมครูสอนไม่ตรงเอก

วันพฤหัสบดีที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2554
กล้วยไม้
เมื่อได้เห็นดอกกล้วยไม้สวยๆ อย่างนี้ ทำให้คิดถึงโครงของ มล.ปิ่น มาลากุล ที่ว่า
การศึกษาเป็นไป ฉันนั้น
แต่ออกดอกคราใด งามเด่น
การศึกษาปลูกปั้น เสร็จแล้วแสนงาม
af 8

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554
น้ำท่วม
จากนั้นปี พ.ศ.๒๕๓๒ ก็มีอีกครั้งหนึ่งที่ มีน้ำหลากอีกครั้งหนึ่ง ครั้งนั้นทำให้ต้นข้าวในนาที่กำลังเขียวขจี ต้องสลายไปกับสายน้ำ สร้างความเสียหาพอสมควร ในเขต อำเภอเมืองขอนแก่น และอีกหลายอำเภอในเส้นทางของลำน้ำพอง
สำหรับปีนี้ พ.ศ.๒๕๕๔ ฝนเริ่มตกแทบจะไม่เว้นในแต่ละวันในเดือนกรกฏาคม สิงหาคม และ กันยายน ทำให้ปริมาณน้ำสะสมมีจำนวนมาก ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ มีเกินพิกัดที่รับได้ ทำให้ต้องระบายน้ำออกในปริมาณมาก จึงเกิดความเสียหายแก่ไร่นาของเกษตรกรในลุ่มน้ำพองต่อไป ถนนไนภาพนี้เป็นเส้นทางระหว่างบ้านอัมพวัน ไปบ้านนาเพียง ตำบลสำราญ อำเภอเมืองขอนแก่น
นับว่าปีนี้น้ำท่วมทำให้ชาวไทยเดือดร้อนเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีผู้เสียชีวิต เกินกว่าร้อยคนไปแล้ว
วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2554
อบรมผลิตสื่อ
วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554
อบรมครูเพื่อเตรียมประเมินต้นแบบโรงเรียนในฝัน
สตีฟ จอบส์

สตีเฟน พอล "สตีฟ" จอบส์ (อังกฤษ: Steve Jobs, 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955 - 5 ตุลาคม ค.ศ. 2011) เป็นผู้นำธุรกิจและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ผู้ร่วมก่อตั้ง ประธาน อดีตประธานกรรมการบริหารของแอปเปิลคอมพิวเตอร์ และยังเคยเป็นประธานกรรมการบริหารพิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอส์ และเป็นคณะกรรมการบริหารบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ใน ค.ศ. 2006 หลังดิสนีย์ซื้อกิจการพิกซาร์
เขาร่วมก่อตั้งแอปเปิลคอมพิวเตอร์กับสตีฟ วอซเนียก ใน ค.ศ. 1976 เป็นผู้มีส่วนช่วยทำให้แนวความคิดเรื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นที่นิยมขึ้นมา ด้วยเครื่อง Apple II ต่อมา เขาเป็นผู้แรกที่มองเห็นศักยภาพทางการค้าของส่วนประสานงานผู้ใช้แบบกราฟิกส์และเม้าส์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในศูนย์วิจัยซีร็อกซ์พาร์ค ของบริษัทซีร็อกซ์ และได้มีการผนวกเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าไว้ในเครื่องแมคอินทอช หลังพ่ายแพ้ในการแย่งชิงอำนาจกับคณะกรรมการบริหารใน ค.ศ. 1984 จอบส์ลาออกจากแอปเปิลและก่อตั้งเน็กซ์ บริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและตลาดธุรกิจ การซื้อกิจการเน็กซ์ของแอปเปิลใน ค.ศ. 1996 ทำให้จอบส์กลับเข้าทำงานในบริษัทแอปเปิลที่เขาร่วมก่อตั้งขึ้นนั้น และเขารับหน้าที่ CEO ตั้งแต่ ค.ศ. 1997 ถึง 2011 จอบส์ยังเป็นประธานกรรมการบริหาร และผู้บริหารระดับสูงของพิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอส์ ผู้นำด้านการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ ทั้งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ 50.1% กระทั่งบริษัทวอลต์ดิสนีย์ซื้อกิจการไปใน ค.ศ. 2006 จอบส์เป็นผู้ถือหุ้นมากที่สุดของดิสนีย์ที่ 7% และเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารของดิสนีย์
หลังจาก สตีฟ จอบส์ ประกาศแก่พนักงานแอปเปิลคอมพิวเตอร์ว่าตรวจพบมะเร็งตับอ่อนตั้งแต่กลางปี ค.ศ. 2004 จอบส์ ก็มีปัญหาทางสุขภาพเรื่อยมา จนตัดสินใจลาออกจากการเป็นประธานกรรมการบริหารของแอปเปิลคอมพิวเตอร์ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 2011 และ เสียชีวิตในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 2011 หลังจากที่แอปเปิลคอมพิวเตอร์ ประกาศเปิดตัว ไอโฟน 4เอส ได้เพียงแค่วันเดียว
ข้อมูลจาก