วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555
วิทยากรร่วมค่ายลูกเสือชั่วคราวบ้านนาเพียง
เมื่อวันที่ 26-27 ธันวาคม 2555 ได้รับเชิญจากกลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก ให้เป็นวิทยากรร่วมกิจกรรมเดินทางไกล เข้าค่ายพักแรม โรงเรียนขนาดเล็กประกอบไปด้วย โรงเรียนบ้านนาเพียง โรงเรียนบ้านไก่นา โรงเรียนบ้านโนนแต้ โรงเรียนบ้านน้ำเกี้ยงโนนสว่าง และโรงเรียนบ้านบึงแก (ข้อสังเกต โรงเรียนที่อยู่ห่างจากเมืองแม้จะชื่อว่าโรงเรียนขนาดเล็ก ก็จะมีนักเรียมากกว่าโรงเรียนใกล้เมือง) ขอขอบคุณ ผู้บริหาร คณะครูผูกำกับเจ้าหน้าที่และนักเรียน ลูกเสือเนตรนารีทุกคนที่ให้การต้อนรับ เป็นอย่างดี
วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555
20 ธันวาคม 2510
เปิดไปดูหัวข้อ วันนี้ในอดีต พบว่ามีสิ่งที่น่าสนใจคือ

20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิด มหาวิทยาลัยขอนแก่น 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิด มหาวิทยาลัยขอนแก่น อย่างเป็นทางการ มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มมีการก่อสร้างในรัฐบาล จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อปี 2507 โดยมีมติจัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงด้านวิศวกรรมศาสตร์ และเกษตรศาสตร์ และเสนอชื่อสถาบันนี้ว่า มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาในปี 2508 คณะรัฐมนตรีมีมติให้เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบันเปิดสอน 17 คณะ เปิดสอนในระดับปริญญาตรี โท และเอก สีประจำมหาวิทยาลัยคือสีดินแดง ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยคือดอกกัลปพฤกษ์ |
วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ตลาดน้ำอโยธยา
ตลาดน้ำแห่งนี้ เป็นตลาดที่เกิดใหม่ อาจถือได้ว่าเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งก็ว่าได้ เจ้าของกิจการมีการจัดร้านค้าและออกแบบไว้ให้น่าสนใจ มีความเป็นระเบียบน่าดูพอสมควร มีการแสดงที่บอกเอาไว่ว่าฟรี แต่มีการขอบริจาคสนับสนุนนักแสดงอยู่ด้วย การแสดงแสงสีเสียงน่าสนใจ ยิ่งเป็นรอบเย็น ค่ำๆ สนุกดีทีเดียว เสียดายไม่ได้ถ่ย วีดีโอ มาฝาก
รายละเอียดหาชมได้หลายที่
ดูเพิ่มเติมได้ที่ เว็บเที่ยวตลาดน้ำอโยธยา
รายละเอียดหาชมได้หลายที่
ดูเพิ่มเติมได้ที่ เว็บเที่ยวตลาดน้ำอโยธยา
อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา
เมื่อพูดถึง อยุธยา นับว่าคือ หน้าที่สำคัญของประวัติศาตร์ชาติไทย
นับจากอดีตตั้งแต่ พ.ศ. 1893 ถึง 2310 มีกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวง อาณาจักรอยุธยานับว่าเจริญรุ่งเรืองจนอาจถือได้ว่าเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่งที่สุดในภูมิภาคสุวรรณภูมิ
การกำเนิด
การกำเนิดอาณาจักรอยุธยาที่ได้รับการยอมรับกว้างขวางที่สุดนั้น อธิบายว่า รัฐไทยซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงศรีอยุธยาในหุบแม่น้ำเจ้าพระยา เจริญขึ้นมาจากราชอาณาจักรละโว้ (ซึ่งขณะนั้นอยู่ใต้การควบคุมของขะแมร์) และอาณาจักรสุพรรณภูมิ แหล่งข้อมูลหนึ่งระบุว่า กลางคริสต์ศตวรรษที่ 14 เพราะภัยโรคระบาดคุกคาม สมเด็จพระเจ้าอู่ทองจึงทรงย้ายราชสำนักลงไปทางใต้ ยังที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึงอันอุดมสมบูรณ์ของแม่น้ำเจ้าพระยา บนเกาะที่ล้อมรอบด้วยแม่น้ำ ซึ่งในอดีตเคยเป็นนครท่าเรือเดินทะเล ชื่อ อโยธยา (Ayothaya) หรือ อโยธยาศรีรามเทพนคร นครใหม่นี้ถูกขนานนามว่า กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ซึ่งภายหลังมักเรียกว่า กรุงศรีอยุธยา แปลว่า นครที่ไม่อาจทำลายได้
เดิมชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 แล้ว ทั้งยังเคยเป็นที่ตั้งของเมืองสังขบุรี อโยธยา เสนาราชนคร และกัมโพชนคร ต่อมา ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรขอมและสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทองทรงดำริจะย้ายเมืองและสถาปนาขึ้นมาใหม่และสถาปนาให้มีชื่อว่า กรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระเจ้าอู่ทองเป็นพ่อค้าเชื้อสายจีนที่ร่ำรวยจากเพชรบุรี นครชายฝั่งทางใต้ ผู้ซึ่งย้ายมาแสวงหาโชคลาภในนครอโยธยา ชื่อของนครชี้ถึงอิทธิพลของศาสนาฮินดูในภูมิภาค มีการเชื่อว่า นครแห่งนี้มีความเกี่ยวข้องกับมหากาพย์รามเกียรติ์ ซึ่งดัดแปลงมาจากมหากาพย์รามายณะของฮินดู
การขยายอาณาเขต
เมื่อถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 อยุธยาก็ถูกพิจารณาว่าเป็น ชาติมหาอำนาจแข็งแกร่งที่สุดในอุษาคเนย์แผ่นดินใหญ่ อยุธยาเริ่มครองความเป็นใหญ่โดยเริ่มจากการพิชิตราชอาณาจักรและนครรัฐทางเหนือ อย่างสุโขทัยกำแพงเพชรและพิษณุโลก ก่อนสิ้นสุดคริสต์ศตวรรษที่ 15 อยุธยาโจมตีเมืองพระนคร (อังกอร์) ซึ่งเป็นมหาอำนาจของภูมิภาคในอดีต อิทธิพลของอังกอร์ค่อย ๆ จางหายไปจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และอยุธยากลายมาเป็นมหาอำนาจใหม่แทน
อย่างไรก็ดี ราชอาณาจักรอยุธยามิได้เป็นรัฐที่รวมเป็นหน่วยเดียวกัน หากเป็นการปะติดปะต่อกันของอาณาเขต (principality) ที่ปกครองตนเอง และประเทศราชที่สวามิภักดิ์ต่อพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยาภายใต้ปริมณฑลแห่งอำนาจ (Circle of Power) หรือระบบมณฑล (mandala) ดังที่นักวิชาการบางฝ่ายเสนอ อาณาเขตเหล่านี้อาจปกครองโดยพระบรมวงศานุวงศ์กรุงศรีอยุธยา หรือผู้ปกครองท้องถิ่นที่มีกองทัพอิสระของตนเอง ที่มีหน้าที่ให้การสนับสนุนแก่เมืองหลวงยามสงคราม ก็ได้ อย่างไรก็ดี มีหลักฐานว่า บางครั้งที่เกิดการกบฏท้องถิ่นที่นำโดยเจ้าหรือพระมหากษัตริย์ท้องถิ่นขึ้น อยุธยาก็จำต้องปราบปราม
ด้วยไร้ซึ่งกฎการสืบราชสันติวงศ์และมโนทัศน์คุณธรรมนิยม (meritocracy) อันรุนแรง ทำให้เมื่อใดก็ตามที่การสืบราชสันติวงศ์เป็นที่พิพาท เจ้าปกครองหัวเมืองหรือผู้สูงศักดิ์ (dignitary) ที่ทรงอำนาจจะอ้างคุณความดีของตนรวบรวมไพร่พลและยกทัพมายังเมืองหลวงเพื่อกดดันตามข้อเรียกร้อง จนลงเอยด้วยรัฐประหารอันนองเลือดหลายครั้ง
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 อยุธยาแสดงความสนใจในคาบสมุทรมลายู ที่ซึ่งมะละกาเมืองท่าสำคัญ ประชันความเป็นใหญ่ อยุธยาพยายามยกทัพไปตีมะละกาหลายครั้ง แต่ไร้ผล มะละกามีความเข้มแข็งทั้งทางการทูตและทางเศรษฐกิจ ด้วยได้รับการสนับสนุนทางทหารจากราชวงศ์หมิงของจีน ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 แม่ทัพเรือเจิ้งเหอแห่งราชวงศ์หมิง ได้สถาปนาฐานปฏิบัติการแห่งหนึ่งของเขาขึ้นที่มะละกา เป็นเหตุให้จีนไม่อาจยอมสูญเสียตำแหน่งยุทธศาสตร์นี้แก่คนไทย ภายใต้การคุ้มครองนี้ มะละกาจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นหนึ่งในคู่แข่งทางการค้าที่ยิ่งใหญ่ของอยุธยา กระทั่งถูกโปรตุเกสพิชิตเมื่อ พ.ศ. 2054
การเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง
เริ่มตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชอาณาจักรอยุธยาถูกราชวงศ์ตองอูแห่งพม่าโจมตีหลายครั้ง สงครามครั้งแรกคือ สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ เมื่อ พ.ศ. 2091-92 แต่ล้มเหลว การรุกรานครั้งที่สองของพม่า หรือเรียกว่า "สงครามช้างเผือก" เมื่อ พ.ศ. 2106 พระเจ้าบุเรงนองทรงบังคับให้สมเด็จพระมหาจักรพรรดิยอมจำนน พระบรมวงศานุวงศ์ทรงถูกพาไปยังอังวะ และสมเด็จพระราเมศวร พระราชโอรสองค์โต ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าประเทศราช เมื่อ พ.ศ. 2111 พม่ารุกรานอีกเป็นครั้งที่สาม และสามารถยึดกรุงศรีอยุธยาได้ในปีต่อมา หนนี้พระเจ้าบุเรงนองทรงแต่งตั้งสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชเป็นเจ้าประเทศราช
การฟื้นตัว
หลังพระเจ้าบุเรงนองเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2124 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชทรงประกาศเอกราชแก่กรุงศรีอยุธยาอีกสามปีให้หลัง อยุธยาต่อสู้ป้องกันการรุกรานของพม่าหลายครั้ง จนในครั้งสุดท้าย สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงปลงพระชนม์เมงจีสวา (Mingyi Swa) อุปราชาของพม่า ได้ในยุทธหัตถีเมื่อ พ.ศ. 2136 จากนั้น อยุธยากลับเป็นฝ่ายบุกบ้าง โดยยึดชายฝั่งตะนาวศรีทั้งหมดขึ้นไปจนถึงเมาะตะมะใน พ.ศ. 2138 และล้านนาใน พ.ศ. 2145 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงถึงกับรุกรานเข้าไปในพม่าลึกถึงตองอูใน พ.ศ. 2143 แต่ทรงถูกขับกลับมา หลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2148 ตะนาวศรีตอนเหนือและล้านนาก็ตกเป็นของพม่าอีกใน พ.ศ. 2157 อยุธยาพยายามยึดล้านนาและตะนาวศรีตอนเหนือกลับคืนระหว่าง พ.ศ. 2205-07 แต่ล้มเหลว
การค้าขายกับต่างชาติไม่เพียงแต่ให้อยุธยามีสินค้าฟุ่มเฟือยเท่านั้น แต่ยังได้รับอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ ๆ ด้วย กลางคริสต์ศตวรรษที่ 17 ระหว่างรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อยุธยาค่อย ๆ สูญเสียการควบคุมเหนือหัวเมืองรอบนอก ผู้ว่าราชการท้องถิ่นใช้อำนาจของตนอย่างอิสระ และเริ่มเกิดการกบฏต่อเมืองหลวงขึ้น
การล่มสลาย
หลังจากยุคสมัยอันนองเลือดแห่งการต่อสู้ของราชวงศ์ กรุงศรีอยุธยาเข้าสู่ "ยุคทอง" สมัยที่ค่อนข้างสงบในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อศิลปะ วรรณกรรมและการเรียนรู้เฟื่องฟู ยังมีสงครามกับต่างชาติ กรุงศรีอยุธยาสู้รบกับเจ้าเหงียน (Nguyễn Lords) ซึ่งเป็นผู้ปกครองเวียดนามใต้ เพื่อการควบคุมกัมพูชา เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2258 แต่ภัยคุกคามที่ใหญ่กว่ามาจากพม่า ซึ่งราชวงศ์อลองพญาใหม่ได้ผนวกรัฐฉานเข้ามาอยู่ในอำนาจ
ช่วง 50 ปีสุดท้ายของราชอาณาจักรมีการสู้รบอันนองเลือดระหว่างเจ้านาย โดยมีพระราชบัลลังก์เป็นเป้าหมายหลัก เกิดการกวาดล้างข้าราชสำนักและแม่ทัพนายกองที่มีความสามารถตามมา สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้าย บังคับให้สมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร พระเชษฐา ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ขณะนั้น สละราชสมบัติและขึ้นครองราชย์แทน
พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญาทรงยกทัพรุกรานอาณาจักรอยุธยา หลังจากอยุธยาว่างเว้นศึกมานานกว่า 150 ปี ซึ่งในขณะนั้น อยุธยาเกิดการแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างเจ้าฟ้าเอกทัศกับเจ้าฟ้าอุทุมพร อย่างไรก็ดี พม่าไม่อาจหักเอากรุงศรีอยุธยาได้ในการทัพครั้งนั้น
แต่ใน พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระ พระราชโอรสแห่งพระเจ้าอลองพญา ได้รุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกหนหนึ่ง ทรงแบ่งกำลังออกเป็นสองส่วน มุ่งเข้าตีอาณาจักรอยุธยาพร้อมกันทั้งสองด้าน ฝ่ายอยุธยาต้านทานการล้อมของทัพพม่าไว้ได้ 14 เดือน แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการล่มสลายได้ กองทัพพม่าสามารถหักเข้าพระนครได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310
พระมหากษัตริย์
พระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา มี 5 ราชวงศ์ คือ
- ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 3 พระองค์
- ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์
- ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์
- ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
- ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 พระองค์
รวมมีพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 33 พระองค์
ข้อมูลจาก wikipedia.org
วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ตลาดน้ำดำเนินสะดวก
ตลาดน้ำดำเนินสะดวก ตั้งอยู่ใน จังหวัดราชบุรี และยังเชื่อมไปถึง จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงครามเข้าด้วยกันตลาดน้ำดำเนินสะดวกมีสินค้าให้เลือกซื้อ ทั้งของกิน ของใช้ รวมถึงสินค้าหัตถกรรมและของที่ระลึกมากมาย
ประวัติ
คลองดำเนินสะดวก เป็นนามพระราชทานจากรัชกาลที่ 5 เป็นคลองที่ขุดด้วยแรงงานคนซึ่งขุดได้ตรงและยาวที่สุดในประเทศ จากพระราชดำริของรัชกาลที่ 4 ที่ทรงพระประสงค์ให้ขุดคลองเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำท่าจีน เพื่อประโยชน์ในการคมนาคมและการค้าขาย คลองดำเนินสะดวก ใช้เวลาในการขุด ใช้เวลาขุด 2ปีเศษ จากปลายรัชสมัยรัชกาลที่ 4 แล้วเสร็จต้นรัชกาลที่ 5 มีความยาวประมาณ 32 กิโลเมตรมีซอยน้อยแยกออกไปอีกประมาณ 200 คลอง ตลาดน้ำดำเนินสะดวก หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าตลาดน้ำคลองต้นเข็ม สักประมาณ 30 ปีที่แล้ว ตลาดน้ำดำเนินสะดวกอยู่ที่คลองลัดพลี หนาแน่นช่วงปากคลองต่อกับคลองดำเนินสะดวก ซึ่งอยู่ตรงข้ามตลาดน้ำปัจจุบัน(ฝั่งตรงตลาดน้ำดำเนินสะดวก) มีเรือพายแท้ ๆ จากชาวสวนแน่นขนด สามารถเดินข้ามคลองได้โดยเหยียบไปบนเรือเหล่านั้น ปี 2514-2516 ตลาดน้ำคลองลัดพลีเป็นช่วงที่มีความเจริญมาก มีการค้าขายกับอย่างสนุกสนาน โดยมีนักท่องเที่ยวแต่ชาวต่างชาติ จนมีนายทุนได้ทำการขุดคลองเทียมขึ้นมา ระหว่างคลองลัดพลี และคลองดำเนินสะดวก หวังที่จะทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ตั้งแต่ลาดน้ำที่แท้จริงหายไป (20กว่าปีมาแล้ว) ซึ่งตลาดน้ำในปัจจุบันนี้ เป้นเพียงการสตาฟตลาดน้ำในอตีตให้คงอยู่เท่านั้น อย่างไรก็ตามตลาดน้ำดำเนินที่เก่าแก่กว่าร้อยปี ยังคงมีมนต์ขลังเป็นตลาดน้ำที่ยังคงเป็นของจริง ยังมีจากแม่ค้าที่นำผลไม้จากสวนมาขาย หรือบางครั้งอาจรับผลไม้มาจากรถบรรทุกที่อื่นขาย เป็นอารายสุดท้ายที่ควรไปชม
ข้อมูลจาก
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย-นครปฐม
พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ตั้งอยู่เลขที่ 43/2 หมู่ 1 ถนนบรมราชชนนี (ปิ่นเกล้า-นครชัยศรี) กิโลเมตรที่ 31 ตำบลขุนแก้ว เป็นสถานที่จัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งไฟเบอร์กลาสซึ่งมีความสวยงามและเหมือนจริงให้ ความรู้สึกนุ่มนวล ซึ่งเป็นผลงานสร้างสรรค์ของคุณดวงแก้ว พิทยากรศิลป์และกลุ่มศิลปินไทยซึ่งใช้เวลาค้นคว้าทดลองกว่า 10 ปี โดยมีวัตถุประสงค์ในอันที่จะส่งเสริม เผยแพร่และอนุรักษ์ไว้ซึ่งศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของไทย
ก่อตั้งโครงการเมื่อปีพ.ศ.2525 เปิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ภายในอาคารแบ่งออกเป็น 2 ชั้น ชั้นล่าง จัดเป็นห้องแสดงถาวรจำนวน 7 ห้องประกอบด้วยหุ่นชุดต่างๆ ได้แก่ ชุดพระอริยสงฆ์ ชุดพระบรมรูปอดีตพระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรีและชุดมุมหนึ่งของชีวิตเป็นการ แสดงชุดหมากรุกไทย ชุดครอบครัวไทย ชุดเลิกทาส เป็นต้น ชั้นบน จัดเป็นห้องแสดงนิทรรศการชั่วคราวชุดต่างๆหมุนเวียนตามความเหมาะสม ปัจจุบันจัดแสดงเรื่องชุดครูเพลงไทย ชุดบุคคลสำคัญของโลก ชุดวรรณคดีไทย พระอภัยมณีของสุนทรภู่ ชุดการละเล่นของเด็กไทย ชุดประวัติศาสตร์ไทย พิพิธภัณฑ์ฯ
เปิดบริการทุกวันไม่เว้นวันหยุด (จันทร์-ศุกร์ เปิดตั้งแต่เวลา 09.00-17.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เปิดเวลา 08.30-18.00 น.)
เขาวัง - พระนครคีรี
ถ้าจำไม่ผิด การมาเขาวังครั้งนี้คงจะเป็นครั้งที่ 4 เข้าให้แล้ว สองครั้งแรกขึ้นจากทางด้านหลังคือจากด้านรถราง แต่ท่ีต่างไปจากทุกครั้งคือ ครั้งนี้มีเวลาน้อยกว่าทุกครั้ง จึงไปได้ไม่ทั่วถึง จึงขอนำเอาที่ไปที่มาของเขาวังมาว่าไว้สักนิดหนึง ดังนี้
เขาวัง อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี
เขาวัง หรือ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี เป็นสถาน ที่เที่ยวที่สำคัญของเพชรบุรีซึ่งถือได้ว่า เป็นสัญลักษณ์ ของเมืองเพชรบุรี เพราะเมื่อเข้าสูเมืองเพชรบุรี สิ่งที่จะได้เห็นโดดเด่นเห็นมาแต่ไกล คือ เขาวัง ซึ่งมีเจดีย์และ อาคารสีขาวสะอาดเชาวัง เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่คู่เมืองเพชรบุรี ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง 92 เมตร เดิมเรียกว่า เขาสมนหรือเขาคีรี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงพอพระราชหฤทัยที่จะสร้างพระราชวัง สําหรับเสด็จแปรพระราชฐานขึ้นบนยอดเขาแห่งนี้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาเพชรนิสัยศรีสวัสดิ์ปลัดเมือง เพชรบุรีเป็นนายงานก่อสร้างจนสําเร็จเรียบร้อยเมื่อปีพ.ศ.2403 ทรงพระราชทานนามว่า พระนครคีรี แต่ชาวเมือง เพชรเรียกกันติดปากว่า เขาวัง สืบมาจนบัดนี้
สิ่งที่น่าสนใจบนเขาวัง
เขาวังมีพระที่นั่ง พระตําหนัก วัด และกลุ่มอาคารต่างๆ มากมาย ส่วนใหญ่เป็นสถาปัตยกรรม ตะวันตกแบบ นิโอคลาสสิคผสมสถาปัตยกรรมจีน ตั้งอยู่บนยอดเขาใหญ่ ๆ 3 ยอดด้วยกัน ดังนี้
- ยอดเขาด้านทิศตะวันออก บริเวณไหลเขา
เป็นที่ตั้งของ วัดมหาสมณาราม อยู่บริเวณเชิงเขาวัง เดิมชื่อวัดสมณะ หรือ วัดมหาสมน พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้เป็นที่ประทับเมื่อครั้งทรงผนวช ต่อมาเมื่อทรงสร้างพระนครคีรีแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัด แห่งนี้ พระราชทานนามว่า วัดมหาสมณาราม เรียกกันโดยทั่วไปว่า วัดเขาวัง ภายในโบสถ์ ฝาผนังทั้ง สี่ด้าน มีภาพ เขียนฝีมือขวัวอินโข่ง ซึ่งเป็นจิตรกรไทยคนแรก ที่ใช้วิธีการเขียนภาพแบบทัศนียวิทยา (perspective) คือ ใช้สีและแสงเงาในการวาด ให้เกิดมิติ มีระยะใกล้-ไกล และแบบภาพมองจากมุมสูง (Birds-eye view) อย่าง ตะวันตก เป็นภาพเขียน เกี่ยวกับการไปนมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา
- ยอดเขาด้านทิศตะวันออก เป็นที่ตั้งของวัดพระแก้วหรือ วัดพระแก้วน้อย สร้างขึ้นเป็นวัดในเขตพระราชฐาน เช่นเดียวกับวัดพระแก้วใน พระบรมมหาราชวัง สิ่งที่ควรชมภายใน ได้แก่
- เจดีย์แดง ปรางค์จัตุรมุข ทาสีแดงทั้งองค์
- โบสถ์ มีสัดส่วนงดงาม และมีหน้าบันเป็นลวดลายปูนปั้น รูปตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งเป็นตราประจำรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จัดเป็นงานปูนปั้นที่มีชื่อเสียงชิ้นหนึ่งของเมืองเพชรบุรี
- พระสุทธเสลเจดีย์ เป็นเจดีย์หินอ่อน สีเทาอมเขียว ที่มีประวัติการสร้างอันน่าทึ่ง คือ เมื่อสลักหินอ่อนเป็นชิ้น และประกอบที่เกาะสีชังเสร็จแล้ว ได้รื้อนำลงเรือมาประกอบใหม่บนเขาแห่งนี้
เป็นที่ตั้งของ วัดมหาสมณาราม อยู่บริเวณเชิงเขาวัง เดิมชื่อวัดสมณะ หรือ วัดมหาสมน พระบาทสมเด็จพระจอม เกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้เป็นที่ประทับเมื่อครั้งทรงผนวช ต่อมาเมื่อทรงสร้างพระนครคีรีแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัด แห่งนี้ พระราชทานนามว่า วัดมหาสมณาราม เรียกกันโดยทั่วไปว่า วัดเขาวัง ภายในโบสถ์ ฝาผนังทั้ง สี่ด้าน มีภาพ เขียนฝีมือขวัวอินโข่ง ซึ่งเป็นจิตรกรไทยคนแรก ที่ใช้วิธีการเขียนภาพแบบทัศนียวิทยา (perspective) คือ ใช้สีและแสงเงาในการวาด ให้เกิดมิติ มีระยะใกล้-ไกล และแบบภาพมองจากมุมสูง (Birds-eye view) อย่าง ตะวันตก เป็นภาพเขียน เกี่ยวกับการไปนมัสการสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนา
- ยอดเขาด้านทิศตะวันออก เป็นที่ตั้งของวัดพระแก้วหรือ วัดพระแก้วน้อย สร้างขึ้นเป็นวัดในเขตพระราชฐาน เช่นเดียวกับวัดพระแก้วใน พระบรมมหาราชวัง สิ่งที่ควรชมภายใน ได้แก่
- เจดีย์แดง ปรางค์จัตุรมุข ทาสีแดงทั้งองค์
- โบสถ์ มีสัดส่วนงดงาม และมีหน้าบันเป็นลวดลายปูนปั้น รูปตราพระมหาพิชัยมงกุฎ ซึ่งเป็นตราประจำรัชกาล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ จัดเป็นงานปูนปั้นที่มีชื่อเสียงชิ้นหนึ่งของเมืองเพชรบุรี
- พระสุทธเสลเจดีย์ เป็นเจดีย์หินอ่อน สีเทาอมเขียว ที่มีประวัติการสร้างอันน่าทึ่ง คือ เมื่อสลักหินอ่อนเป็นชิ้น และประกอบที่เกาะสีชังเสร็จแล้ว ได้รื้อนำลงเรือมาประกอบใหม่บนเขาแห่งนี้
- ยอดเขาด้านทิศตะวันตก เป็นที่ตั้งของพระราชวังพระนครคีรี
เป็นที่ตั้งของพระราชวังที่ประทับอันได้แก่
- พระที่นั่งสันถาคารสถาน เป็นหมู่พระที่นั่งขนาดใหญ่ สำหรับต้อนรับแขกเมืองที่มาพักบนพระนครคีรี มีห้องรับ แขกอยู่ตรงกลาง สองข้างเป็นห้องนอน มีมุขหน้ายื่น
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ปัจจุบันเป็นพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ และพระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์
พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์เป็นพระที่นั่งองค์ใหญ่ที่สุด ภายในจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงเครื่องราชูปโภค เช่น พระแท่นบรรทม พระฉาย (กระจกเงา) บานใหญ่ เครื่องมุก เครื่องถ้วยชาม ตุ๊กตาโลหะ ฝีมือช่างยุโรป เป็นต้น
พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ เป็นที่ประดิษฐานพระแท่นบรรทมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท เป็นปราสาทยอดปรางค์ขนาดย่อม สร้างตามคติที่ว่า การสร้างพระราชวังใหญ่ จะต้องมีปราสาท ภายในประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์แบบที่ เคยทรง ในการเสด็จออกรับทูตานุฑูต
-พระที่นั่งราชธรรมสภา สร้างด้วยศิลปะแบบผสมระหว่างไทย จีน และตะวันตก กล่าวคือ มีรูปทรงอาคารคล้าย เก๋งจีน แต่ตกแต่งตามแบบไทยและตะวันตก
- หอชัชวาลเวียงชัย เป็นหอทรงกลมสูงสองชั้น หลังคาโค้งกรุกระจก สร้างขึ้นเป็นที่ศึกษาและสังเกตการณ์ ทาง ดาราศาสตร์ สามารถชมทิวทัศน์ของเมืองเพชรบุรีได้โดยรอบ ในอดีต เวลากลางคืน จะจุดโคมไฟแขวนไว้ภาย ในโดมกระจก เมื่อมองจากทะเลสามารถเห็นได้แต่ไกล จึงเป็นที่หมายของชาวเรือในการเดิน เรือเข้าอ่าว บ้านแหลมได้อย่างดี
เป็นที่ตั้งของพระราชวังที่ประทับอันได้แก่
- พระที่นั่งสันถาคารสถาน เป็นหมู่พระที่นั่งขนาดใหญ่ สำหรับต้อนรับแขกเมืองที่มาพักบนพระนครคีรี มีห้องรับ แขกอยู่ตรงกลาง สองข้างเป็นห้องนอน มีมุขหน้ายื่น
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคีรี ปัจจุบันเป็นพระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์ และพระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์
พระที่นั่งเพชรภูมิไพโรจน์เป็นพระที่นั่งองค์ใหญ่ที่สุด ภายในจัดเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงเครื่องราชูปโภค เช่น พระแท่นบรรทม พระฉาย (กระจกเงา) บานใหญ่ เครื่องมุก เครื่องถ้วยชาม ตุ๊กตาโลหะ ฝีมือช่างยุโรป เป็นต้น
พระที่นั่งปราโมทย์มไหสวรรย์ เป็นที่ประดิษฐานพระแท่นบรรทมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- พระที่นั่งเวชยันต์วิเชียรปราสาท เป็นปราสาทยอดปรางค์ขนาดย่อม สร้างตามคติที่ว่า การสร้างพระราชวังใหญ่ จะต้องมีปราสาท ภายในประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฉลองพระองค์แบบที่ เคยทรง ในการเสด็จออกรับทูตานุฑูต
-พระที่นั่งราชธรรมสภา สร้างด้วยศิลปะแบบผสมระหว่างไทย จีน และตะวันตก กล่าวคือ มีรูปทรงอาคารคล้าย เก๋งจีน แต่ตกแต่งตามแบบไทยและตะวันตก
- หอชัชวาลเวียงชัย เป็นหอทรงกลมสูงสองชั้น หลังคาโค้งกรุกระจก สร้างขึ้นเป็นที่ศึกษาและสังเกตการณ์ ทาง ดาราศาสตร์ สามารถชมทิวทัศน์ของเมืองเพชรบุรีได้โดยรอบ ในอดีต เวลากลางคืน จะจุดโคมไฟแขวนไว้ภาย ในโดมกระจก เมื่อมองจากทะเลสามารถเห็นได้แต่ไกล จึงเป็นที่หมายของชาวเรือในการเดิน เรือเข้าอ่าว บ้านแหลมได้อย่างดี
- เขายอดกลาง เป็น พระธาตุจอมเพชร
เป็นเจดีย์สีขาว ที่มองเห็นเด่นแต่ไกล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะเจดีย์เก่าที่มีอยู่ก่อน แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ และพระราชทานนามว่า พระธาตุจอมเพชร
เป็นเจดีย์สีขาว ที่มองเห็นเด่นแต่ไกล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะเจดีย์เก่าที่มีอยู่ก่อน แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ และพระราชทานนามว่า พระธาตุจอมเพชร
ข้อมูลจาก http://www.paiduaykan.com/province/central/phetchaburi/khaowang.html
วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555
ชีวิตคน-ชีวิตวัว
ภาพนี้เก็บตกระหว่างเดินทางกลับจาก ไปทัศนศึกษา เพราะการไปทัศนศึกษาจึงต้องหาความรู้ทุกแง่มุม พอดีจังหวะที่แวะเข้าปั๊ม เพื่อเติมน้ำมัน เห็น "รถบรรทุกวัว" คันหนึ่ง ท่าทางจะนำวัวไปขายหรือไม่ก็ไปซื้อวัวมาจากตลาดนัดที่ใดสักแห่ง ภาพเหล่านี้พอจะหา หรือเห็นได้ไม่ยากนัก วัวที่บรรทุกบนรถ ตัวขนาดนี้ หลายตัวอาจจะหมายถึงใกล้จัสิ้นชีวิตแล้วก็ได้ บางตัวอาจหมายถึงได้ไปมีชีวิตที่ดีกว่าเดิม มีอาหารบำรุงอย่างดี เพื่อว่าวันข้างหน้า เมื่อขึ้นรถแบบนี้แล้ว จะได้มีรูปร่างที่อ้วนพี นั่นหมายถึงราคาที่เพิ่มขึ้น แต่ที่ต้องเอารูปนี้มา ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่า บางครั้งชีวิตคน ที่ต้องดิ้นรนหากิน ต้องลงทุนกันอย่างที่สุด ทนแม้กระทั้งนอนไปหลับไปกับกลิ่นมูลวัว เขาก็ต้องทน เพราะนี่คือ วงจรชีวิตที่เขาทำเป็นประจำ "วงเวียนชีวิต" ที่หากินกับอีกหลายชีวิต
วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555
เมืองเลย2555
คราวนี้ ตัดสินใจตอนเย็น แล้วออกเดินทางเช้า ทั้งที่เป็น Long week end เพราะมีวันหยุดติดต่อกัน เสาร์ - อาทิตย์ - จันทร์ (วันจันทร์ที่ 10 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ) แต่วันเสาร์ติดงานแต่งงานลูกชายเพื่อน เลยต้องออกเดินทางเช้าวันที่ 9 แทน
ตั้งใจอยู่แล้วว่าจะไป "คุนหมิงเมืองไทย" หลายคนเรียกชื่อกันสับสน ในชื่อจริง โดยตอนแรกเคยได่ยินว่า "ผาหินงาม" แต่ความจริงคือ "สวนหินผางาม" ผางามเป็นชื่อสถานที่ ชื่อหมู่บ้าน ถนนจากตัวอำเภอหนองหินเข้าไป 5 กิโลเมตรแรก ไม่ค่อยดีนัก ไม่ค่อยมั่นใจเลย แต่หลังจากนั้นค่อยดีขึ้น ช่วงที่ไปถึงราวสามโมงเช้า มีคนมาชมพอสมควร จอดรถเสร็จ เดินชมถ่ายรูปเล็กน้อย เข้าห้องน้ำ กลับมาที่รถอีกที คราวนี้ คนเยอะขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะมี แรลลี่ จากกรุงเทพฯ มาผ่านจุดนี้ด้วย ทำให้บรรยากาศ คึกคักทันที
จากนั้นตั้งใจจะหาข้าวเที่ยงแถวๆ ในเมือง แต่หาร้านที่มีคนแนะนำไม่เจอ เลยมุ่งสู่ เชียงคาน กะว่า จะกิน "กุ้งเต้น" ที่ "แก่งกุคู้" แต่พอไปถึงคนเยอะมาก กุ้งหมด เลยอด ที่มีปัญหาที่สุดคือ หาที่พักไม่ได้จนค่ำ ในที่สุด ตัดสินใจกันว่าจะนอนในรถ จอดรถเสร็จ เดินไปตามถนนคนเดินไป เลยถามบ้านหลังนึ่งที่เห็นคนเดินออกจะขึ้นรถ คุณนานเจ้าของบ้าน ใจดีมาก เดินหาถามเพื่อนบ้านให้จนเราได้ที่พัก ข้างถนนคนเดินนั่นเลย โชคดีมาก ได้เห็นทุกกิจกรรม ยิ่งตอนเช้า นรอใสบาตรกันเต็มไปหมด
อาทิตย์ต้นเดือน อยู่ที่ลาว อาทิตย์นี้ อยู่ที่เลย อาทิตย์หน้าอาจจะเป็นใต้ ก็ได้ ใครจะรู้
วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555
2 ธันวา วันชาติลาว
ความจริงวันนี้ตั้งใจจะมาแค่ เขตปลอดภาษีเท่านั้น เพราะคนออกค่าน้ำมันว่าอย่านั้น ขณะกำลังทำเรื่องผ่านแดนเข้าลาว พวกนายหน้าแถวนั้นถาม ย้งบอกเขาว่า มาแค่ซื้อของ แต่พอเอาเข้าจริง พวกกลับเปลี่ยนใจ เหมารถ เป็นเงินไทย 800 บาท แต่ถ้าคิดเป็นเงิน กีบ เท่าไหร่ครับ ก็เอา 250 คูณดุครับ โอ้โห สองแสน กีบ ปาดโท บ่ย่อย ถามคนจับรถ บางวันได้ถึง สามเที่ยว วันนั้น รับเงิน หกแสน เกินครึ่งล้านไปแล้ว ที่นี่รถส่วนใหญ่ยี่ห้อ ฮุนได ถามว่าทำไม เขาก็ว่า ก็มีแค่ยี่ห้อนี้ รัฐบาลให้มาขาย นอกนั้นไปซื้อจากที่อื่น หรือมือสองจากที่อื่น เมืองโดยทั่วไปยังเหมือนอำเภอนอกๆ บ้านเรา แต่ไม่แออัด ถนน ถือว่ายังแคบอยู่ บ้านเรือนห่างกัน ตึกสูงๆ ไม่ค่อยจะมี มีส่วนที่กำลังสร้างใหม่หลายที่ อาจในนามรัฐบาลสร้าง คงต้องอีกนานกว่าจะเท่าเรา แต่ที่ไกลกว่าเราคือ โทรศัพท์ จะใช้ 4G อยู่แล้ว เพราะ 3G เขาใช้มานานแล้ว
ช่วงที่ไปถึงพระธาตุหลวงเป็นเวลา 12.30 น. เป็นเวลาพักกลางวัน ที่นี่จะปิดไม่ให้เข้าชม เลยต้องถ่ายรูปจากด้านนอก จากนั้นไปวัดศรีสะเกต ที่เป็นเหมมือนพิภิทธภัณฑ์ ทางศาสนาก็ว่าได้ ด้านตรงข้ามคือหอพระแก้ว สำหรับเรื่องหอพระแก้ว ไม่กล้าถามประวัติเขาจริงๆ เพราะเราก็รู้อยู่ว่า เป็นมาอย่าไร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)