- 1 มิถุนายนวันดื่มนมโลก
- 5 มิถุนายนวันสิ่งแวดล้อมโลก
- 8 มิถุนายนวันมหาสมุทรโลก หรือวันทะเลโลก
- 9 มิถุนายนวันอานันทมหิดล
- 21 มิถุนายนวันครีษมายัน
- 24 มิถุนายนวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
- 26 มิถุนายนวันสุนทรภู่ / วันต่อต้านยาเสพติด
วันอาทิตย์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559
วันสำคัญเดือนมิถุนายน
วันสำคัญเดือนมิถุนายน
- 1 มิถุนายนวันดื่มนมโลก
- 5 มิถุนายนวันสิ่งแวดล้อมโลก
- 8 มิถุนายนวันมหาสมุทรโลก หรือวันทะเลโลก
- 9 มิถุนายนวันอานันทมหิดล
- 21 มิถุนายนวันครีษมายัน
- 24 มิถุนายนวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง
- 26 มิถุนายนวันสุนทรภู่ / วันต่อต้านยาเสพติด
วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ดาวเสาร์ใกล้โลก
อย่าพลาดชม! คืนนี้(3 มิ.ย.) ‘ดาวเสาร์’ ใกล้โลกสุดในรอบปี สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
วันนี้(3 มิ.ย.) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เผยคืนวันที่ 3 มิถุนายน 2559 ดาวเสาร์ จะอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ใกล้โลกที่สุดในรอบปี ปรากฏชัดสีเหลืองสว่างสุกใส ดูได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หลังดวงอาทิตย์ตก อวดโฉมยาวนานตลอดทั้งคืนจนถึงรุ่งเช้า หากดูด้วยกล้องโทรทรรศน์หรือกล้องสองตา สามารถเห็นวงแหวนได้ชัดเจน

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์ เปิดเผยว่า ในวันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน 2559 ดาวเสาร์จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ (Opposition : ตำแหน่งที่ดาวเสาร์ โลก และดวงอาทิตย์ เรียงอยู่ในเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง) ส่งผลให้ดาวเสาร์อยู่ในตำแหน่งใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ที่ระยะทางประมาณ 1,350 ล้านกิโลเมตร เราจึงมองเห็นดาวเสาร์พร้อมวงแหวนที่มีความสว่างมากและชัดเจน
นอกจากนี้ ดาวเสาร์ยังจะปรากฏบนท้องฟ้ายาวนานตลอดทั้งคืน ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ตกไปจนถึงอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันถัดไป ในปีนี้ดาวเสาร์จะอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ให้เราได้ชมตั้งแต่เดือนมิถุนายนไปจนถึงเดือนสิงหาคม 2559 ในคืนวันที่ 3 มิถุนายน ดาวเสาร์จะขึ้นจากขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณกลุ่มดาวแมงป่อง ตั้งแต่เวลาประมาณ 19:00 น. มีสีเหลืองสว่างสุกใส สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และจะตกลับขอบฟ้าทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เวลาประมาณ 06:00 น. ของเช้าวันที่ 4 มิถุนายน

ดร.ศรัณย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในค่ำคืนของวันที่ 3 มิถุนายน นอกจากดาวเสาร์แล้วยังมีดาวเคราะห์สว่างที่น่าสนใจปรากฏบนท้องฟ้าอีกสองดวงสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า คือดาวอังคาร และดาวพฤหัสบดี โดยในช่วงหัวค่ำดาวอังคารจะปรากฏทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หากใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องดูจะสามารถเห็นรายละเอียดบนพื้นผิวดาวอังคารได้อย่างชัดเจน ส่วนดาวพฤหัสบดีจะปรากฏสว่างอยู่กลางท้องฟ้าค่อนไปทางทิศตะวันตก
ทั้งนี้ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) ได้จัดกิจกรรม ” ดาวเสาร์ –ราชาแห่งวงแหวน” ในวันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน 2559 เวลา 18:00-22:00 น. บริเวณหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา และหอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา โดยนำกล้องโทรทรรศน์ขนาดต่าง ๆ กว่า 10 ตัว มาบริการประชาชน มีกิจกรรมดาราศาสตร์ที่น่าสนใจ อาทิ ส่องดาวเสาร์ “ราชาแห่งวงแหวน” ที่สว่างสุด ชัดสุดในรอบปี เต็มอิ่มกับดาวอังคาร “ดาวเคราะห์แดง” ที่ยังส่องประกายสีส้มบนท้องฟ้า ตระการตาไปกับดาวพฤหัสบดีพร้อมดวงจันทร์บริวารอีกสี่ดวง จึงขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกับ สดร. ได้ ฟรี!! ไม่มีค่าใช้จ่าย ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่www.facebook.com/NARITpage
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)