สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สุริยุปราคา 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 | |
---|---|
ประเภท | |
ประเภท | เต็มดวง |
แกมม่า | 0.2609 |
แมกนิจูด | 1.045 |
บดบังมากที่สุด | |
ระยะเวลา | 249 วินาที (4 นาที 9 วินาที) |
พิกัด | 10.1°N 148.8°E |
ความกว้างของเงามืด | 155 กิโลเมตร |
เวลา (UTC) | |
(P1) เริ่มอุปราคาบางส่วน | 23:19:20 |
(U1) เริ่มอุปราคาเต็มดวง | 00:15:57 |
บดบังมากที่สุด | 01:58:19 |
(U4) สิ้นสุดอุปราคาเต็มดวง | 03:38:20 |
(P4) สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน | 04:34:55 |
แหล่งอ้างอิง | |
ซารอส | 130 (52 จาก 73) |
บัญชี # (SE5000) | 9543 |
สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดจะเกิดขึ้นในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 เกิดเมื่อดวงจันทร์ผ่านระหว่างโลกและดวงอาทิตย์ ฉะนั้นจึงขวางภาพดวงอาทิตย์ทั้งหมดหรือบางส่วนแก่ผู้สังเกตบนโลก สุริยุปราคาเต็มดวงเกิดเมื่อเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏของดวงจันทร์ใหญ่กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางปรากฏของดวงอาทิตย์ จึงสกัดแสงอาทิตย์โดยตรงทั้งหมด แล้วทำให้ความมืดปกคลุม คราสเต็มดวง (totality) เกิดในวิถีแคบผ่านพื้นผิวโลกโดยสามารถเห็นสุริยุปราคาบางส่วนได้เหนือภูมิภาคโดยรอบกว้างหลายพันกิโลเมตร
มีความส่องสว่าง 1.0450 ช่วงเวลาคราสเต็มดวงนานที่สุด คือ 4 นาที 9 วินาที เห็นได้ส่วนใหญ่ของมหาสมุทรแปซิฟิก โดยเริ่มต้นจากอินโดนีเซีย และไปจบที่ตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก[1]
ถ้าสังเกตจากทางตะวันออกของเส้นแบ่งเขตวันสากล เช่น ฮาวาย จะมองเห็นอุปราคาครั้งนี้ในวันที่ 8 มีนาคม (ตามเวลาท้องถิ่น), ส่วนอินโดนีเซียโชคไม่ดีนัก เพราะในเดือนมีนาคม กว่า 60-70% ของพื้นที่มักมีเมฆปกคลุมในเดือนมีนาคม ท้องฟ้าที่แจ่มใสเป็นไปได้ว่าจะอยู่ทางตะวันออกในมหาสมุทรแปซิฟิก[2] อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 สำนักอุตุนิยมวิทยา ภูมิอากาศวิทยา และธรณีฟิสิกส์แห่งอินโดนีเซีย (BMKG) ได้พยากรณ์ว่าส่วนตะวันตกของอินโดนีเซีย มีความเป็นไปได้ที่จะมีการปกคลุมของเมฆน้อย และมีโอกาสเกิดฝนตก 20 เปอร์เซ็นต์ในเมืองทางตะวันตก เช่น เบิงกูลู ปาเล็มบัง ปาลังการายา และปาลู ซึ่งน้อยกว่าทางตะวันออก ซึ่งมีโอกาสเกิดฝนตกถึง 90 เปอร์เซ็นต์ในเตอร์นาตี และมาบา ด้วยความแม่นยำที่ 65 เปอร์เซ็นต์[3]
สำหรับประเทศไทยจะสังเกตเห็นอุปราคาครั้งนี้ได้ทั่วประเทศ โดยเห็นเป็นสุริยุปราคาบางส่วนในเวลาเช้า โดยเริ่มสังเกตได้เวลา 06:38 น. ดวงจันทร์บังลึกที่สุดเวลา 07:32 น. และสิ้นสุดในเวลา 08:32 น. รวมระยะเวลา 1 ชั่วโมง 54 นาที
เส้นทางของอุปราคา
ตารางเวลาในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย สามารถสังเกตอุปราคาครั้งนี้ได้ในเวลาเช้าของวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559 ทั่วประเทศในลักษณะสุริยุปราคาบางส่วน โดยดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์มากที่สุดที่อำเภอเบตง, จังหวัดยะลา ที่ประมาณร้อยละ 69[5]
สถานที่ | ดวงอาทิตย์ขึ้น | เวลาของสุริยุปราคาบางส่วน | ระยะเวลา (ชั่วโมง:นาที) | ร้อยละการบัง | อ้างอิง | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เริ่ม | บดบังมากที่สุด | สิ้นสุด | |||||
เชียงราย | 06:37 | 06:51 | 07:39 | 08:31 | 01:39 | 24 | |
เชียงใหม่ | 06:37 | 06:49 | 07:37 | 08:30 | 01:41 | 27 | |
อุดรธานี | 06:21 | 06:46 | 07:38 | 08:35 | 01:49 | 31 | |
สกลนคร | 06:16 | 06:46 | 07:39 | 08:37 | 01:51 | 32 | |
ขอนแก่น | 06:21 | 06:44 | 07:37 | 08:35 | 01:51 | 34 | |
นครสวรรค์ | 06:32 | 06:42 | 07:34 | 08:32 | 01:49 | 36 | |
อุบลราชธานี | 06:21 | 06:46 | 07:38 | 08:35 | 01:49 | 38 | |
นครราชสีมา | 06:23 | 06:41 | 07:35 | 08:34 | 01:53 | 38 | |
กาญจนบุรี | 06:33 | 06:39 | 07:32 | 08:31 | 01:52 | 40 | |
กรุงเทพมหานคร | 06:29 | 06:38 | 07:32 | 08:32 | 01:54 | 41 | |
ฉะเชิงเทรา | 06:28 | 06:37 | 07:31 | 08:32 | 01:55 | 42 | |
ชลบุรี (พัทยา) | 06:27 | 06:37 | 07:31 | 08:32 | 01:55 | 44 | |
ประจวบคีรีขันธ์ | 06:32 | 06:36 | 07:30 | 08:31 | 01:55 | 48 | |
เกาะสมุย | 06:36 | 06:31 | 07:27 | 08:31 | 01:59 | 56 | |
ภูเก็ต | 06:36 | 06:36 | 07:25 | 08:28 | 01:59 | 62 | |
สงขลา | 06:27 | 06:28 | 07:26 | 08:30 | 02:02 | 64 | |
นราธิวาส | 06:22 | 06:27 | 07:26 | 08:32 | 02:05 | 67 | |
ยะลา (เบตง) | 06:29 | 06:27 | 07:25 | 08:31 | 02:04 | 69 |
ตารางเวลาในหลายสถานที่
เมือง | เริ่มอุปราคาบางส่วน | เริ่มเต็มดวง | สิ้นสุดเต็มดวง | สิ้นสุดอุปราคาบางส่วน | เขตเวลา |
---|---|---|---|---|---|
ปาเล็มบัง, สุมาตรา, อินโดนีเซีย | 06:20:29 | 07:20:48 | 07:22:41 | 08:31:27 | UTC+7 |
จาการ์ตา, ชวา, อินโดนีเซีย | 06:19:51 | เฉพาะอุปราคาบางส่วน | เฉพาะอุปราคาบางส่วน | 08:43:41 | UTC+7 |
กรุงเทพมหานคร, ไทย | 06:39:03 | เฉพาะอุปราคาบางส่วน | เฉพาะอุปราคาบางส่วน | 08:32:39 | UTC+7 |
ปาลู, ซูลาเวซี, อินโดนีเซีย | 07:27:51 | 08:37:47 | 08:39:52 | 10:00:34 | UTC+8 |
เตอร์นาตี, โมลุกกะเหนือ, อินโดนีเซีย | 07:36:03 | 08:51:40 | 08:54:19 | 10:20:50 | UTC+9 |
กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย | 07:24:22 | เฉพาะอุปราคาบางส่วน | เฉพาะอุปราคาบางส่วน | 09:31:00 | UTC+8 |
สิงคโปร์ | 07:23:01 | เฉพาะอุปราคาบางส่วน | เฉพาะอุปราคาบางส่วน | 09:32:54 | UTC+8 |
มะนิลา, ฟิลิปปินส์ | 07:51:14 | เฉพาะอุปราคาบางส่วน | เฉพาะอุปราคาบางส่วน | 10:14:20 | UTC+8 |
กึ่งกลางอุปราคาเต็มดวง, มหาสมุทรแปซิฟิก (ระยะเวลา 4:09) | 0:02:41 | 01:55:06 | 01:59:16 | 03:30:25 | UTC |
ดาร์วิน, ออสเตรเลีย | 09:07:29 | เฉพาะอุปราคาบางส่วน | เฉพาะอุปราคาบางส่วน | 11:35:00 | UTC+9.5 |
เกาะยาป, ไมโครนีเซีย, 9 มีนาคม | 10:02:49 | เฉพาะอุปราคาบางส่วน | เฉพาะอุปราคาบางส่วน | 13:01:48 | UTC+10 |
ฮาวาย, สหรัฐอเมริกา, 8 มีนาคม | 16:36:52 | เฉพาะอุปราคาบางส่วน | เฉพาะอุปราคาบางส่วน | 18:30:06 | UTC-10 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น